MEGA Certification

 SA 8000 

          มาตรฐานแรงงานว่าด้วยความรับผิดชอบทางสังคม (Social Accountability 8000 : SA 8000) เป็นมาตรฐานแรงงานที่กำหนดขึ้นโดยองค์กรเอกชนในประเทศสหรัฐอเมริกา คือ Social Accountability International เมื่อปี 2540 เพื่อให้ผู้ประกอบกิจการต่าง ๆ นำไปปฏิบัติ ทั้งนี้เพื่อให้ได้รับความเชื่อถือทางสังคม มีสาระสำคัญดังนี้

1. แรงงานเด็ก บริษัทต้องไม่จ้างหรือสนับสนุนให้มีการจ้างแรงงานเด็ก (อายุต่ำ่กว่า 15 ปี) หรือเยาวชน (อายุ 15-18 ปี) หรือจ้างแรงงานเด็กอายุต่ำกว่าที่กฎหมายท้องถิ่นกำหนด กรณีมีการจ้างแรงงานเด็กไว้ทำงานอยู่ก่อนแล้ว ต้องให้เด็กได้เข้าโรงเรียนและอยู่ในโรงเรียนจนพ้นวัยเด็ก และต้องมีมาตรการดูแลมิให้เด็กอยู่ในภาวะอันตราย ไม่ปลอดภัย หรือไม่ถูกสุขอนามัย ทั้งภายในหรือนอกสถานที่ทำงาน รวมทั้งต้องจัดทำบันทึกรายละเอียดของเด็กเก็บไว้เป็นหลักฐาน

2. การบังคับใช้แรงงาน บริษัทต้องไม่กระทำหรือสนับสนุนการบังคับใช้แรงงาน โดยการเรียกเก็บเงินประกัน หรือให้ลูกจ้างมอบบัตรหรือหลักฐานประจำตัวแก่บริษัทเมื่อจ้างงาน

3. สุขภาพและความปลอดภัย บริษัทต้องจัดสถานที่ทำงานและสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัยและถูกสุขอนามัยแก่ลูกจ้าง ต้องจัดให้มีขั้นตอนการปฏิบัติและระบบการตรวจสอบที่เชื่อถือได้ในการป้องกันการบาดเจ็บ อันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการทำงาน หรือเกี่ยวข้องกับการทำงาน นอกจากนี้ ต้องแต่งตั้งผู้แทนซึ่งเป็นผู้บริหารระดับอาวุโสให้มีหน้าที่รับผิดชอบด้า่นสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยของลูกจ้าง อีกทั้งต้องจัดให้ลูกจ้างได้รับการฝึกอบรมด้านสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงานเป็นประจำ ตลอดจนต้องจัดให้มีห้องน้ำและน้ำดื่มสะอาดและพอเพียงสำหรับลูกจ้างทุกคน

4. เสรีภาพในการสมาคมและสิทธิในการร่วมเจรจาต่อรอง บริษัทต้องเคารพสิทธิของลูกจ้างในการรวมตัวจัดตั้งหรือเข้าเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน ต้องเคารพสิทธิในการร่วมเจรจาต่อรองของผู้แทนลูกจ้างและต้องรับรองว่าผู้แทนลูกจ้างจะไม่ถูกเลือกปฎิบัติ และสามารถติดต่อกับสมาชิกในสถานที่ทำงานได้

5. การเลือกปฏิบัติ บริษัทต้องไม่กระทำหรือสนับสนุนให้มีการเลือกปฏิบัติในการว่าจ้าง การจ่ายค่าตอบแทน การเข้ารับการฝึกอบรม การเลื่อนตำแหน่ง การเลิกจ้าง หรือการเกษียณอายุ เพราะเหตุแห่งความแตกต่างทางเชื้อชาติ สัญชาติวรรณะ ชาติกำเหนิด ศาสนา ความพิการ เพศหรือความเบี่ยงเบนทางเพศ สถานะการเป็นสมาชิกสหภาพ หรือการสังกัดทางการเมือง

6. วินัย บริษัทต้องไม่กระทำหรือสนับสนุนให้มีการใช้วิธีทำโทษ โดยการทำร้ายร่างกายและการบังคับขู่เข็ญทั้งทางร่างกายและจิตใจ

7. ชั่วโมงการทำงานและการทำงานล่วงเวลา บริษัทต้องกำหนดชั่วโมงการทำงานให้เป็นไปตามกฎหมายและมาตรฐานอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าด้วยกรณีใด ๆ ลูกจ้างต้องไม่ถูกกำหนดให้ทำงานปกติเกินกว่า 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และต้องจัดให้มีวันหยุดอย่างน้อย 1 วันในทุกๆ ระยะ 7 วัน หากจำเป็นต้องทำงานล่วงเวลาต้องกระทำเฉพาะในสถานการณ์จำเป็นทางธุรกิจช่วงเวลาสั้น ๆ เท่านั้น ทั้งนี้ต้องไม่เกิน 12 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์ โดยต้องจ่ายค่าตอบแทนในอัตราพิเศษเสมอ

8. ค่าตอบแทน บริษัทต้องจ่ายค่าจ้างแก่ลูกจ้างอย่างน้อยเท่าอัตราค่าจ้างที่กฎหมายกำหนด หรือตามมาตรฐานขั้นต่ำของอุตสาหกรรมนั้น ๆ และต้องเพียงพอสำหรับความจำเป็นขั้นพื้นฐานของลูกจ้าง การจ่ายค่าตอบแทนการทำงานแต่ละงวดลูกจ้างจะต้องได้รับทราบรายละเอียดที่ชัดเจนเกี่ยวกับส่วนประกอบของค่าจ้างและสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ที่เขาได้รับ การจ่ายค่าตอบแทนดังกล่าว อาจจ่ายในรูปเงินสดหรือเช็คก็ไำด้ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามความสะดวกของลูกจ้าง การหักค่าจ้างเพื่อการลงโทษทางวินัยจะกระทำมิได้ นอกจากนี้ บริษัทต้องรับรองว่าจะไม่ใช้วิธีการทดลองงานลูกจ้างหรือทำสัญญาจ้างระยะสั้น ๆ หรือมีการว่าจ้างใหม่เป็นระยะ ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการไม่ให้ลูกจ้างได้รับสิทธิประโยชน์ตามกฎหมาย หรือหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบตามกฎหมายประกันสังคม

9 ระบบการบริหารจัดการ Management System ในส่วนนี้ก็ว่ากันไปตามแบบ ISO 9000 นั่นเองแต่มาตรฐานนี้เอามาเขียนของตัวเองไว้

  • 9.1 นโยบาย ขั้นตอนการปฏิบัติงาน และบันทึก Policies, Procedures and Records มาตรฐานกำหนดให้ต้องมีสิ่งเหล่านี้
  • 9.2 ทีมงานระบบความรับผิดชอบทางสังคม Social Performance Team มาตรฐานกำหนดให้มีทีมงานในการจัดทำ และนำระบบไปใช้
  • 9.3 การชี้บ่งแบะการประเมินความเสี่ยง Identification and Assessment of Risks มาตรฐานกำหนดให้ทีมงานต้องมีการประเมินความเสี่ยงเป็นระยะๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความไม่เป็นไปตามข้อกำหนด
  • 9.4 การเฝ้าติดตาม Monitoring มาตรฐานกำหนดให้มีการเฝ้าติดตามระบบ เรื่องของการตรวจติดตามภายในกำหนดไว้ในข้อนี้
  • 9.5 การมีส่วนร่วมภายในและการติดต่อสื่อสาร Internal Involvement and Communication มาตรฐานระบุให้คนในองค์กรต้องมีความเข้าใจมาตรฐาน และองค์กรต้องมีการติดต่อสื่อสารที่ดี
  • 9.6 การจัดการข้อร้องเรียนและความชัดเจน Complaint Management and Resolution มาตรฐานต้องการให้มีการจัดการข้อร้องเรียนอย่างเป็นระบบ ต้องมีการเขียนขั้นตอนการปฏิบัติงาน และผู้ร้องเรียนต้องไม่ได้รับโทษใดๆ ที่เป็นผลมาจากการร้องเรียน
  • 9.7 การตรวจสอบภายนอกและความผูกพันของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย External Verification and Stakeholder Engagement ข้อนี้พูดถึงการตรวจประเมินจากหน่วยงานภายนอกซึ่งองค์กรต้องให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี และผู้บรืหารขององค์กรต้องเข้าร่วมในกิจกรรมความผูกพันของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
  • 9.8 การปฏิบัติการแก้ไข และการปฏิบัติการป้องกัน Corrective and Preventive Actions มาตรฐานกำหนดให้ต้องมีกระบวนการทั้งสองอย่าง พร้อมจัดเก็บบันทึก
  • 9.9 การฝึกอบรม และการเสริมสร้างความสมารถ Training and Capacity Building มาตรฐานกำหนดให้ต้องมีแผนฝึกอบรม และมีการประเมินผลที่ได้จากการฝึกอบรมเป็นระยะๆ
  • 9.10 การบริหารผู้ส่งมอบและผู้รับจ้างช่วง Management of Suppliers and Contractors มาตรฐานต้องการให้มีการบริหารจัดการในเรื่องนี้อย่างเป็นระบบ โดยต้องมีการติดต่อสื่อสารออกไปว่าองค์กรมีการจัดทำระบ


ประโยชน์ที่ได้จากการจัดทำระบบ SA 8000

1. การป้องกันการกีดกันด้านการค้า ซึ่งในเรื่องนี้พบว่าหลายๆ โรงงานเริ่มถูกลูกค้าทำ 2nd Party Audit ในหัวข้อเรื่องการจ้างแรงงานแล้ว

2. ปรับปรุงสภาพการจ้างงานให้ถูกต้องตามกฎหมาย

3. ปรับปรุงสภาพการทำงานให้เหมาะสม

4. เพิ่มโอกาสทางการค้าโดยวาง Product Position ใหม่

5. สร้างภาพลักษณ์ของบริษัทให้เป็นที่ยอมรับในสังคมโดยเฉพาะในสายตาของผู้บริโภค

6. ทำให้แรงงานมีความจงรักภักดีต่อองค์กร ประสิทธิภาพในการทำงานของแรงงานเพิ่มขึ้นและนำไป สู่การเพิ่มผลผลิตในที่สุด

7. สร้างความสัมพันธ์อันดีต่อสังคม

8. ลูกค้ามีความเชื่อมั่นในตัวสินค้าและบริการและมีความภักดีต่อองค์กร

9. มีช่องทางการตลาดใหม่

10. มีโอกาสในการเลือกแรงงานที่มีคุณภาพ

11. ลดขั้นตอนและต้นทุนในการตรวจสอบ

Affiliates

                    

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy