ผู้ผลิตเครื่องสำอางไทยตาม กฎหมายเครื่องสำอางของอาเซียน หรือ ASEAN GMP Cosmetic และโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ผลิตที่ต้องการขยายตลาดสู่ตลาดอาเซียนควรต้องยื่นขอการรับรองตามแนวทางกฎหมายก่อน ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)ได้ออกประกาศ เรื่องการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตเครื่องสำอางของอาเซียนประกาศ ณ วันที่ 14 กรกฎาคม 2549 ซึ่งมีผลบังคับใช้วันที่ 1 มกราคม 2551 ใช้แทนระบบ GMP เป็นการดำเนินการภายใต้ข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือระหว่างอาเซียน ที่กำหนดใช้หลักเกณฑ์วิธีการผลิตที่ดีสำหรับเครื่องสำอางให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน
** หากท่านไม่ใช่ผู้ผลิตเครื่องสำอาง แต่อุตสาหกรรมหรือผลิตภัณฑ์ของท่านอยู่ในห่วงโซ่ หรือ Supply Chain ของอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง สามารถเรียนรู้ข้อกำหนดและการประยุกต์ใช้ได้ แต่ในการยื่นขอการรับรองจากหน่วยงานกำกับดูแล ไม่สามารถยื่นขอการรับรองได้ เนื่องจากไม่ใช่ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง
GMP ASEAN เป็นระบบหนึ่งที่มีพื้นฐานมาจาก ISO 9001 ข้อกำหนดหลักของหลักเกณฑ์วิธีการปฏิบัติที่ดีในการผลิตเครื่องสำอางของอาเซียน หรือ ASEAN GMP สอดคล้องกับระบบบริหารงานคุณภาพ มาตรฐาน ISO 9001 ดูการเปรียบเทียบข้อกำหนด การประยุกต์ตามแนวทางของมาตรฐานนี้ยังคงต้องเน้นเรื่องโครงสร้างอาคารผลิต สิ่งอำนวยความสะดวก วัตถุดิบ อุปกรณ์การผลิตและพนักงาน เพื่อลดการปนเปื้อนที่มาจากแหล่งที่อาจก่อให้เกิดการปนเปื้อนเหล่านี้ ข้อกำหนดอีกประเด็นที่สำคัญคือวัตถุดิบและสูตรการผลิตที่ต้องได้รับอนุมัติก่อน (Formulation) การผลิตและจัดจำหน่าย โดยต้องยืนยันความปลอดภัยของวัตถุดิบ
ในการจัดทำพัฒนาระบบมาตรฐานคุณภาพและความปลอดภัย สำหรับผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ในปัจจุบันที่ปรึกษา แนะนำให้มีการจัดการตาม ASEAN Cosmetic ซึ่ง Update และเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน รวมไปถึงเพิ่มโอกาสการค้า การยอมรับจาก AEC ด้วย ในกฎหมายเครื่องสำอางของอาเชีย เป็นการจัดการระบบบริหารคุณภาพและความปลอดภัยขั้นพื้นฐาน และยังสามารถพัฒนาสู่มาตรการเครื่องสำอางปลอดภัยอีกด้วย คือ การจัดทำ PIF -Product Information File เพื่อยื่นแสดงว่าสินค้ามีความปลอดภัย